การประกันภัยรถยนต์ (Motor Insurance) โดย e-insuran.com

1. เงื่อนไขทั่วไป

 

 

 

2. ความคุ้มครองบุคคลภายนอก

 

 

3. ความเสียหายต่อรถยนต์

 

4. รถยนต์สูญหายไฟไหม้

 

 

การประกันภัยรถยนต์ในประเทศไทย ปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การประกันภัยภาคบังคับ กับ การประกันภัยภาคสมัครใจ

         
การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (COMPULSORY INSURANCE) หมายถึง การที่กฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำประกันภัย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.  2535   รถที่ต้องทำประกันภัย ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่ รถที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก

  
รถที่ได้รับการยกเว้นตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่

                1.  รถของสถาบันองค์พระมหากษัตริย์
            2.  รถของหน่วยงานราชการ กระทรวง ทบวง กรม  ต่าง ๆ  ผลของการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้   คือโทษปรับสูงสุดไม่เกิน  10,000.- บาท  การจ่ายค่าสินไหมทดแทน สำหรับการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.  2535 แบ่งออกเป็น 2  ส่วนคือ


               1.  ค่าเสียหายเบื้องต้น

               2.  ค่าเสียหายส่วนที่เกินค่าเสียหายเบื้องต้น


ค่าเสียหายเบื้องต้น  คือ ค่าเสียหายที่ต้องจ่ายในทันทีโดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายประมาท     โดยบริษัทที่เป็นผู้รับประกันภัยรถคันที่เกิดเหตุ จะต้องดำเนินการจ่ายภายใน  7 วัน  นับแต่วันที่ได้รับเอกสารการเรียกร้องครบถ้วน     หรือในกรณีที่รถคันที่ประสบอุบัติเหตุ ไม่ได้ทำประกันตามพระราชบัญญัตินี้     หรือไม่สามารถพิสูจน์ทราบได้ว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุมาจากรถคันใด  ให้เบิกจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นจาก สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ 
ค่าเสียหายเบื้องต้นมีดังนี้

 
                1.  กรณี บาดเจ็บ เบิกได้ตามที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลจริงแต่ไม่เกิน    15,000.-บาท ต่อคน
             2.  กรณีเสียชีวิต   เบิกได้  35,000.-บาท ต่อคน
             3.  กรณีบาดเจ็บและต่อมาเสียชีวิต เบิกค่ารักษาได้ตามจริงแต่ไม่เกิน   15,000.-บาทต่อคนและเบิกกรณีเสียชีวิตได้อีก 35,000.-บาท ต่อคน  รวมกันแล้วไม่เกิน   50,000.-บาท  ต่อคน


   
                ค่าเสียหายส่วนที่เกินค่าเสียหายเบื้องต้น

                1.  กรณีบาดเจ็บ  เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริง   แต่เมื่อรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นแล้วต้องไม่เกิน     50,000.-บาท  ต่อคน
             2.  กรณีเสียชีวิตทันที เบิกได้   200,000.-บาท ต่อคน
             3.  กรณีประสบเหตุแล้วทำให้ทุพลภาพถาวร    สามารถเบิกค่าทดแทน เมื่อรวมกับค่ารักษาพยาบาลแล้วไม่เกิน 200,000.-บาท ต่อคน
             4.  กรณีบาดเจ็บและต่อมาเสียชีวิต   เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน  50,000.-บาท   และเบิกค่า  ทดแทนการเสียชีวิตรวมกันแล้วไม่เกิน  200,000.-บาท)

 


หลักเกณฑ์การพิจารณาค่าสินไหมทดแทน

  
                การจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น จะต้องจ่ายให้กับผู้ประสบภัยทุกคน โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายประมาท และต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น    และบริษัทที่เป็นผู้รับประกันรถคันใด จะเป็นผู้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ประสบภัยในรถคันนั้น
                การจ่ายค่าเสียหายส่วนที่เกินค่าเสียหายเบื้องต้น  จะจ่ายต่อเมื่อสามารถพิสูจน์แล้วว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายประมาทและต้องรับผิดบริษัทที่เป็นผู้รับประกันภัยรถที่เป็นฝ่ายประมาท เป็นผู้ที่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้    ผู้ขับขี่ซึ่งเป็นผู้ประมาทจะเบิกค่าสินไหมทดแทนได้เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น              
เอกสารหรือหลักฐานที่ต้องใช้ในการขอรับค่าสินไหมทดแทน

 
                กรณีความเสียหายต่อร่างกายใช้เอกสารดังนี้

                1.  ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล
             2.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน


                กรณีทุพพลภาพถาวร

                1.  ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล
             2.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
             3.  ใบรับรองจากแพทย


                กรณีเสียชีวิต

                1.  สำเนาใบมรณะบัตร   
             2.  สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน

 

 

หน้าหลัก | ประกันภัยรถยนต์ | ประกันภัยขนส่ง | ประกันอัคคีภัย | ประกันภัยเบ็ดเตล็ด | สอบถามปัญหา | ติดต่อเรา

Index motor fire miscellaneous marine contact_us board youtube link facebook